คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

                     สัปดาห์สอบกลางภาคค่ะ
             ในรายวิชานี้ไม่มีการสอบกลางภาคค่ะ







วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


บันทึกการเรียน


Inclusive Education Experiences Management for Early 

Childhood


Teacher Justrin Jamtin


Go to Class 14:10


Out to Class 17:30



Activity


วันนี้อาจารย์นำเข้าสู่บทเรียนด้วยทบทวนเพลงที่ร้องไปเมื่อสัปดาห์ที่

แล้วและอาจารย์ของให้ไปฝึกร้องเพลงมาค่ะ ซึ่งเป็นเพลงที่อาจารย์

ศรีนวล รัตนสุวรรณ เป็นผู้แต่ง และอาจารย์ตฤต แจ่มถิน เป็นผู้เรียบ

เรียง ซึ่งมีทั้งหมด 5 เพลง ดังนี้ค่ะ



1.เพลงฝึกกายบริหาร

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง


ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง


รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว



2. เพลงผลไม้

ส้มโอ  แตงโม แตงไทย

ลิ้นจี่   ลำไย  องุ่น  พุทรา

เงาะ ฝรั่ง มังคุด

กล้วย  ละมุด น้อยหน่า

ขนุน  มะม่วง นานาพันธ์



3.เพลง กินผักกัน


กินผักกันเถอะเรา

บวบ ถั่วฝักยาว  ผักกาดขาว  แตงกวา

คะน้า  กวางตุ้ง  ผักบุ้ง โหรพา

มะเขือเทศสีดา  ฟักทอง กะหล่ำปลี





4.เพลง ดอกไม้

ดอกไม้ต่างพันธ์  สวยงามสดสี

เหลือง  แดง  ม่วงมี  แสด  ขาว  ชมพู


5.เพลงจำจี้ผลไม้

จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่

จำปี จำปา มะลิ พิกุล

กุหลาบ ชบา  บานชื่น กระดังงา

เข็ม  แก้ว ลัดดา  เฟื้องฟ้า ราตรี




หนูกลับไปฝึกร้องเพลงมาให้อาจารย์ฟังค่ะ อาจมีเพี้ยนบ้างค่ะ 

เพราะหนูตื่นเต้นมากๆค่ะ ครั้งหน้าหนูจะคิดท่าทางประกอบ

เพลงมาเต้นให้อาจารย์เบียร์ดูะนะคะ


Photobucket - Video and Image Hosting


Photobucket - Video and Image Hosting


Knowledge

วันนี้เรียนเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ    อันดับแรกเรา

ต้องทราบทักษะของครูและทัศนคติ ของครูก่อนค่ะ ว่าครูแต่ละคนควร

มองเด็กให้เป็นเด็กทุกคน


การฝึกเพิ่มเติม

-อบรมระยะสั้น , สัมนา


-สื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์  นิตยสาร เพจต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ

-เด็กจะคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง

-ครูต้องเรียนรู้,มีปฏิสัมพันธ์กับเด้กปกติแและเด็กพิเศษ

-รู้จักเด็กแต่ละคน

-มองเด็กให้เป็น "เด็ก"


การแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า

-การเข้าใจพัฒนาการเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตก

ต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย


ความพร้อมของเด็ก

-วุฒิภาวะ

-แรงจูงใจของเด็ก

-โอกาส


การสอนโดยบังเอิญ

-ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม

-เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น

-ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก

-ครูต้องมีความสนใจเด็ก

-ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก



อุปกรณ์

-มีลักษณะง่ายๆ

-ใช้ประโยชน์ได้หลายทาง

-เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ



ตารางประจำวัน

-เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ

-กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้

-เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ

-การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ

-คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
  


ทัศนคติของครู

-การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์

-ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก

-ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก

แต่ละคน



การใช้สหวิทยาการ

-ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
-สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้

เด็กทุกคนสอนได้
-เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
-เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้แรงเสริม
  •        แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่

-ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก
-มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก
-หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ ก็จะลดลงและหายไป

วิธีการแสดงออกถึงแรงจากผู้ใหญ่
-การตอบสนองด้วยวาจา
-การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
-พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
-สัมผัสทางกาย
-ให้ความช่วยเหลือ, ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

หลักการใช้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
-ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด้กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
-ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
-ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์

การแนะนำหรือบอกบท(Prompting)
-การย่อยงาน
-ลำดับความยากง่ายของงาน
-ลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
-การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
-สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-วิเคราะห์งาน กำหนดจุดมุ่งหมายย่อยๆในงานแต่ละชิ้น
-สอนจากง่ายไปยาก
-ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้หรือเมื่อเด็กพยายามทำอย่างเหมาะสม
-ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปในขั้นต่อไป
-ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด
-ทีละขั้น ไม่เร่งรัด ''ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหรื ยิ่งดีเท่านั้น''
-ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา
-จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

ความต่อเนื่อง
-พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ
-สอนแบบก้าวไปข้างหน้าหรือย้อนมาจากข้างหลัง

เด็กตักซุป
-การจับช้อน
-การตัก
-การระวังไม่ให้น้ำหกก่อนจะเข้าปาก
-การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
-การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก

การลดและหยุดแรงเสริม
-ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
-ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
-เอาเด็กออกจากของเล่น

                                              

 เทคนิคการสอนของอาจารย์

วันนี้อาจารย์ใช้สื่อการสอนโดยการฝึกให้นักศึกษาร้องเพลง ในการนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อไม่ให้นักศึกษาเบื่อในขณะเรียน และใช้ได้ผลค่ะนักศึกษามีความสนใจมากขึ้น และอาจารย์เบียร์มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจนทำให้เข้าใจง่ายและสามารถเปลี่ยนจากเนื้อหายากเป็นเนื้อหาที่เข้าใจง่ายขึ้น และยังมีการจัดโต๊ะเป็นรูปตัวยู ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยนักศึกษาก็เรียนอย่างมีความสุข


 การนำไปประยุกต์ใช้

เมื่อเราทราบวิธีการสอนเด็กปกติและเด็กพิเศษแล้ว เราก็สามารถนำความรู้ ข้อมูล และเทคนิคดีๆ ไปใช้สอนเด็กปฐมัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัยของเด็ก ซึ่งคนเป็นครูต้องมีทัศนคติที่ดีต่อเด็ก มองเด็กให้เป็นเด็กทุกคน เมื่อเด็กช่วยเหลือตนเองได้หรือทำในสิ่งที่ถูกต้องเราต้องให้แรงเสริมเขาจะทำให้เขารู้สึกดีกับตัวเองรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่ามากขึ้น แต่ไม่ควรชมจนเกินไป จนทำให้เด็กรู้สึกแปลกๆกับเรา


  การประเมิน(Evaluate)



การประเมินตนเอง

วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ และตั้งใจจดบันทึก

ตามในสิ่งที่อาจารย์พยายามเพิ่มเติมให้พวกหนู วันนี้หนูสงสัยหลาย

ข้อเลยเลยค่ะ และถามสิ่งที่สงสัยแล้วนำมาบันทึกไว้เป็นความรู้เพิ่ม

เติม สิ่งที่อาจารย์ให้เพิ่มเติมในวันนี้อาจจะไม่มีในข้อสอบ แต่ถ้าวัน

หนึ่งเราออกไปฝึกสอนหรือเป็นครูวันนั้นหนูเชื่อว่ามันมีประโยชน์กับ

เราแน่นอนค่ะ เพราะในสถานการณ์จริงเราต้องมีวิธีในการรับมือที่

เหมาะสม หนูเชื่อว่าอย่างนั้นค่ะ และหนูก็พยายามเก็บเกี่ยวความรู้

และเทคนิคที่อาจารย์เบียร์ได้บอกไว้ไปใช้ในอนาคตค่ะ


การประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ แต่มีเพื่อนบางส่วนแต่งกายไม่เหมือนเพื่อน เพราะเพื่อนอาจติดธุระ แต่เพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจเรียนดีมากค่ะ สัปดาห์นี้เพื่อนๆไม่ค่อยคุยกันเลย ตั้งใจเรียนกันมากค่ะ และหนูสังเกตเห็นเพื่อนเกือบทุกคนเลยค่ะ พยายามจดบันทึกตามในสิ่งที่อาจารย์เพิ่มเติมให้  มีการสนทนากันเพื่อแชร์ประสบการณ์ในวัยเด็กมาเล่าให้ฟังค่ะ นับว่าเป็นการเพิ่มพูนความรู้ไปในตัวเลยค่ะ  

การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย เหมาะสมกับอาชีพครูเหมือนทุกครั้งค่ะ และก็มีสื่อการสอนและเทคนิคการรับมือหรือการให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษที่น่าสนใจมาฝากนักศึกษาค่ะ  ซึ่งอาจารย์ก็พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน นุ่มนวล น่าฟังมากค่ะ และอาจารย์มีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ทำให้ได้รู้และเข้าใจนักทัศนคติของแต่บุคลที่จะไปเป็นครู ซึ่งล้วนแต่มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครูและเด็กเลยค่ะ ซึ่งบรรยากาสการเรียนการสอนแบบนี้จะทำให้นักศึกษาได้ความรู้ และมีความสุขกับการเรียนในรายวิชานี้ ทำให้อยากมาเรียนทุกครั้ง

สิ่งที่ศึกษาเพิ่มเติม

- การฝึกร้องเพลงให้เพราะขึ้นกว่าเดิม
-การประชุมเอาทุกชั้นปี เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน

หมายเหตุ
-วันนี้อาจารย์พยายามรักษาเวลา เพราะว่านักศึกษาและอาจารย์ต้องเข้าร่วมประชุมเอกในเวลา 5 โมงเย็น