บันทึกการเรียน
Inclusive
Education Experiences Management for Early Childhood
Teacher
Justrin Jamtin
Go
to Class 14:10
Out to Class 17:30
Knowledge
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Interated Education หรือ Mainstreaming)
- การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
- มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
- ใช้ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในแต่ละวัน
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป(Regular Education)
- การศึกษาพิเศษ(Special Education)
- การศึกษาแบบเรียนร่วม(Integrated Education หรือ Mainstreaming)
- การศึกษาแบบเรียนรวม(Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
- จัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติบางเวลา
- เด็กพิเศษมีโอกาศแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติ
- เด็กพิเศษต้องมีระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่สามารถเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา(Mainstreaming)
- จัดให้เด็กพิเศษในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
- เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
- การศึกษาสำหรับทุกคน
- รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
- จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson,2007
- การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัญญาของการอยู่รวมกัน(Inclusion)เป็นหลัก
- การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
"Inclusive Education is Education for all,It involves receiving people at the beginning of their education,with provision of additional services needed by each individual"
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
- เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
- เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- สอนได้
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
เมื่อเราทราบความหมายและความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนร่วมและการศึกษาแบบเรียนรวมแล้ว ยังต้องรู้จักบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวมด้วย
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
- ครูไม่ควรวินิจฉัย คือ ไม่ควรตัดสินใจเองว่าเด็กมีความบกพร่อง
- ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ คือ พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการต่างๆ
- ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก คือ อย่าตั้งฉายาให้เด็ก เพราะเด็กจะกลายเป็นแบบที่เราพูดจริงๆ
- ครูควรสังเกตอย่างระบบ เพราะไม่มีใครสังเกตได้ดีกว่าครู
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้า
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
มี 3 ประเภทดังนี้
1.การนับอย่างง่ายๆ คือ
-นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
-กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
2.การบันทึกต่อเนื่อง
-ให้รายละเอียดได้มาก
-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
-ไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
3.การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-บันทึกลงบัตรเล็กๆเพื่อบกพาง่าย
-เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
ตัวอย่างแบบบันทึกพฤติกรรมของเด็ก
Activity
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ลองทำดู คือ วาดภาพดอกชบา ซึ่งแต่ละกลุ่มเรียนจะวาดไม่เหมือนกัน เมื่อวานเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้บรรยายตามภาพที่เราเห็น เมื่อวาดเสร็จรูปและอธิบายตามภาพเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาโชว์ผลงานของตนเอง เพื่อนๆส่วนมากจะอธิบายตามความรู้สึกของตนเอง ไม่ค่อยอธิบายโครงสร้างและส่วนประกอบของดอกชบากันเท่าไหร่
เทคนิคการสอนของอาจารย์
วันนี้อาจารย์มีสื่อการสอนที่น่าสนใจและมีความหลากหลายในการสอน เช่น วาดรูปดอกชบา พร้อมทั้งอธิบายตามรูปภาพที่เราเห็น และกระตุ้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนมากที่สุด เช่น การตั้งคำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาฝึกคิด และเวลานักศึกษาคุยกันอาจารย์ก็มีเทคนิคให้นักศึกษากลับมาสนใจในเรื่องที่อาจารย์กำลังจะสอนได้
การประเมิน(Evaluate)
การประเมินตนเอง
วันนี้ตอนเที่ยงไปช่วยอาจารย์ยกของ และจัดเวรให้เพื่อนไปช่วยอาจารย์ยกของในสัปดาห์หน้า โดยจัดตามเลขที่ และวันนี้ก็เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยแต่วันนี้ไม่ได้รีดเสื้อไปเรียนและใส่กางเกงวอร์มสีน้ำเงินไปเรียน เนื่องจากกางเกงสีดำชำรุด นอกจากนี้เวลาอาจารย์สอนจะพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่เรียน และในบางเนื้อหาก็งงและไม่เข้าใจอยู่บ้าง และกลับหอมาทบทวนก็ทำให้เข้าใจมากขึ้น แต่มีบางอย่างที่ดิฉันต้องฝึกฝนอีกหลายอย่าง เช่น การวาดภาพ เพราะดิฉันไม่ค่อยมีทักษะทางด้านศิลปะมากนัก แต่จะพยายามฝึกฝนให้มากกว่านี้ค่ะ
การประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆ ในชั้นเรียนตั้งใจเรียนมากกว่าปกติ และสามารถตอบคำถามของอาจารย์ และทำให้อาจารย์ชมว่าดีมากตั้งใจเรียนดี และเพื่อนส่วนใหญ่ก็แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม เพื่อนทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นต่างๆ เช่น เวลาอาจารย์ถามว่า ทำไมต้องพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งก็ได้คำตอบมากมาย เช่น เพราะสมองของเด็กวัยปฐมวัยเป็นวัยที่กำลังพัฒนา และเป็นวัยแห่งการจดจำและเลียนแบบ
การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ตั้งใจสอนและใส่ใจกับนักศึกษามากกลัวนักศึกษาไม่เข้าใจเนื้อหาและเรียนไม่ทัน เพราะสัปดาห์ที่แล้วไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไม่สบายมาก แต่อาจารย์ก็มอบหมายให้นักศึกษาทำบล็อกให้เรียบร้อย และสัปดาห์นี้อาจารย์ก็ได้สอนเนื้อหาเพิ่มเติมของสัปดาห์ที่แล้วให้ ทำให้นักศึกษาได้เรียนและรู้อย่างสมบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่องเนื้อหาส่วนไหนไป เพราะเวลาเราไม่เข้าใจก็จะถามอาจารย์ทันที ซึ่งอาจารย์ก็ยินดีตอบเป็นอย่างมากค่ะ
สิ่งที่ศึกษาเพิ่มเติม
-การฝึกฝนเรื่องศิลปะ
-การฝึกร้องเพลง
หมายเหตุ
-วันนี้เรียนเนื้อหาเพิ่มเติม
-วันนี้มีการแจกชีทเพลง แต่เนื่องจากหมดเวลาทำให้ยังไม่ได้ฝึกร้องเพลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น