บันทึกการเรียน
Inclusive Education Experiences Management for Early
Childhood
Childhood
Teacher Justrin Jamtin
Go to Class 14:00
Out to Class 17:30
วันนี้อาจารย์นำเข้าสู่บทเีรียนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาด้วยการนำกิจกรรมสุกๆมาให้นักศึกษาได้ลองทายนิสัยตัวเองดู คือ กิจกรรมดิ่งพสุธา
1.ขณะที่จะกระโดร่มชูชีพรู้สึกอย่างไร เมื่อจะถึงคิวเราโดดแล้ว |
2.ขณะที่โดดลงมาแล้วลอยอยู่กลางอากาศรู้สึกอย่างไร |
3.เมื่อลงมาถึงพื้นแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง = โล่งเลย |
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Indiviualized Education Program)
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- ระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดการประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
- เด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนเองอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว
- ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
- กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน(ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้น)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่างที่ 1
- ใคร อรุณ
- อะไร กระโดดขาเดียวได้
- เมื่อไหร่/ที่ไหน กิจกรรมกลางแจ้ง
- ดีขนาดไหน กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที
ตัวอย่างที่ 2
- ใคร ธนภรณ์
- อะไร นั่งเงียบๆ โดยไม่พูดอะไร
- เมื่อไหร่/ที่ไหน ระหว่างครูเล่านิทาน
- ดีขนาดไหน ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10-15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
3.การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
- ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
- อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4.การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล
**การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
การจัดทำแผน
เทคนิคการสอนของอาจารย์
วันนี้อาจารย์ก็มีกิจกรรมการสอนและสื่อที่หลากหลายมาสอนเช่นเคย คือ กิจกรรมทายใจ เน้นให้นักศึกษาทำงานเป็นทีม ppt เนื้อหาวิชาเรียนรวม ซึ่งวิธีนี้หนูชอบค่ะอาจารย์ เพราะว่าเวลาอาจารย์เปิด ppt เราไม่จำเป็นต้องไปจดจ่อเขียนหัวข้อตามที่อาจารย์อธิบายให้ฟัง ทำให้เสียสมาธิมากและกังวลว่าจะจดไม่ทัน แต่อาจารย์มี ppt เราจะจดสิ่งที่อาจารย์เพิ่มเติมให้แค่นั้น ไม่ต้องกังวลว่าจะจดไม่ทัน และอาจารย์จะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมทุกคนในการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นต่างๆ เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ต่างๆ
การนำไปประยุกต์ใช้
เมื่อทราบว่าแผน IEP คือ แผนเฉพาะบุคคลและเป็นแผนระยะยาว อาจาจะยาว 1 เทอม หรือ 1 ปี ก็ได้ เราก็สามารถนำไปใช้ในการเขียนแผนเมืี่อเราต้องได้ทำงานจริงๆ แต่การที่เราจะเขียนแผน IEP ได้ ไม่ได้เขียนได้ง่ายหรืตอนนั้นทันที แต่เราต้องรู้จักเด็กคนนี้จริงๆ และละเอียดมาก เช่น รู้ว่าน้องชอบอะไร ไม่ชอบอะไร และเมื่อเขียนแผนเสร็จแล้วไม่ใช่จะใช้ได้เลย ต้องได้รับการยอมรับของบุคคลที่เกี่ยวข้องก่อน เช่น ผู้ปกครอง เราจึงจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัยของเด็กที่เราจะนำไปใช้กับเขา เพื่อเกิดประโยชน์กับตัวเด็กอย่างแท้จริง
การประเมินตนเอง
วันนี้แต่งกายเรียร้อยเหมาะสม มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน เพราะวันนี้อาจารย์บอกว่าการจะสอนการเขียนแผน IEP ซึ่งหนูก็มีการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่เข้าใจมากนัก แต่พอมาเรียนอาจารย์อธิบายที่ชัดเจนทำใหเหนูเข้าใจมากขึ้นและสามารถเขียนได้ตามที่อาจารย์แนะนำ และจดจ่อกับเนื้อหาที่อาจารย์สอน และจดบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมตามี่อาจารย์สอดแทรกความรู้เนื้อหานอกเนื้อจากตำราเรียนให้ คือประสบการณ์จริงหรือบทบาทสมมติ ที่อาจารย์ถ่ายทอดให้ ทำให้หนูเข้าใจง่ายขึ้นและเห็นภาพที่ชัดเจน ทำให้เนื้อที่ยากเปลี่ยนเป็นง่ายได้ค่ะ และสัปดาห์หน้าอาจารย์จะสอบร้องเพลงหนูรู้สึกตื่นเต้นมากค่ะ
การประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมกับนักศึกษาครู จดบันทึกตามที่อาจารย์เพิ่มเติมข้อมูลให้ อาจมีการพูดคุยเสียงดังกันบางแต่เพื่อเป็นการเพิ่มบรรยากาศการเรียนการสอนให้น่าเรียน และอบอุ่นเป็นกันเองค่ะ
การประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมการสอนที่มากพอสมควร มีความพร้อมในการสอนนักศึกษา แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมกับวิชาชีพ และมีเทคนิคการสอนที่หลากหลายและมีการอธิบายที่ชัดเจนเข้าใจง่ายและเน้นให้นักศึกษากล้าคิดกล้าแสดงออกในทางที่สร้างสรรค์
สิ่งที่ศึกษาเพิ่มเติม
-ฝึกร้องเพลง 20 เพลง สอบอาทิตย์หน้า
หมายเหตุ
-
สิ่งที่ศึกษาเพิ่มเติม
-ฝึกร้องเพลง 20 เพลง สอบอาทิตย์หน้า
หมายเหตุ
-