คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน


Inclusive Education Experiences Management for Early 

Childhood


Teacher Justrin Jamtin


Go to Class 12:00


Out to Class 14:00




Activity

วันนี้อาจารย์งดคลาสเพื่อให้นักศึกษาไปช่วยกันทำอุปกรณ์แข่งเชียร์

กับทำแสตน  วันนี้เลยนัดเพื่อน  12:00 เพื่อมาทำอุปรกรณ์คือ ภู่  พอ

ทำภู่เสร็จแล้วประมาณบ่ายโมงกว่าๆ  หนูก็โทรถามอีกกลุ่มเรียน

หนึ่งว่าทำแสตนที่ไหนพวกเราจะไปช่วยทำ แต่เพื่อนอีกกลุ่มเรียน

บอกว่า ให้อีกกลุ่มหนึ่งทำ กลุ่มหน่อยทำแค่อุปกรณ์ พวกเราเลยกลับ

บ้าน ประมาณเกือบบ่ายสองค่ะ   วันนี้ก็มีบรรยายกาศการทำงานมา

ฝากอาจารย์เบียร์ด้วยค่ะ






วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียน


Inclusive Education Experiences Management for Early 

Childhood


Teacher Justrin Jamtin


Go to Class 09:00


Out to Class 12:20




วันนี้สอบค่ะ




วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนคร้้งที่ 11

บันทึกการเรียน

Inclusive Education Experiences Management for Early 

Childhood

Teacher Justrin Jamtin

Go to Class 14:10

Out to Class 17:30




Activity

วันนี้อาจารย์พูดทักทายกับนักศึกษาตามปกติและมีการนำเข้าสู่บท

เรียนด้วยกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากขึ้น

 คือ การทายภาพสตอว์เบอรี่ ซึ่งเป็นการทายลักษณะนิสัยทาง

จิตวิทยา ดังนี้ค่ะ













เรื่องเล่ามหัศจรรย์


วันนี้อาจารย์เบียร์พาไปเที่ยวสวนสตอว์เบอรี่ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง

เรานั่งรถไป เมื่อถึงแล้วเราก็เห็นไร่สตอว์เบอรี่มากมาย จากนั้น

อาจารย์ถามว่า "เมื่อเราจะเข้าไปในไร่สตอว์เบอรี่ แต่

เห็นรั้ว...............ที่นักศึกษาคิดว่ารั้วเป็นแบบไหน

หนูตอบว่า รั้วไฟฟ้า " เมื่อนักศึกษาเข้าไปในไร่สตอว์เบอรี่แล้ว "จะ

กินตอว์เบอรี่กี่ลูก ''  หนูตอบ  ไม่กินค่ะ เพราะว่าหนูไม่เคยเห็น

ต้นสตอว์เบอรี่ แต่จะสังเกตลักษณะของต้นสตอว์เบอรี่มากกว่า

ค่ะ  ในขณะที่นักศึกษากำลังทำอะไรอยู่ในไร่สตอว์เบอรี่อยู่นั้น ''ถ้า

เจ้าของไร่มาเราควรทำอย่างไร''  หนูตอบ ไม่ต้องทำอะไรค่ะ แค่

บอกว่าหนู่แค่มาสำรวจลักษณะของตอว์เบอรี่เฉยๆค่ะ  ''ถ้าให้

ศึกษาทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างที่อยู่ในไร่สตอว์เบอรี่นักศึกษา

รู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น''

หนูตอบ ไม่รู้สึกอะไรค่ะ เพราะไม่ได้ทำอะไรผิดค่ะ


* กิจกรรมที่ให้นักศึกษาทายเป็นเรื่องของการนอกใจ

แฟน ตามคำตอบที่เราตอบค่ะ



จากนั้นอาจารย์ก็แจกสีให้นักศึกษาทุกคน ซึ่งเป็นค่าวัสดุของวิชานี้ค่ะ 

จากนั้นอาจารย์ก็แจกชีทเพลงให้เรากลับไปฝึกร้องที่บ้าน แล้ว

ใกล้สิ้นเทอมอาจารย์จะสอบค่ะ




Knowledge

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

-เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยให้อิสระให้มากที่สุด
-การกินอยู่

-การเข้าห้องน้ำ

-การแต่งตัว

-กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ

-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง

-อยากทำงานตามความสามารถ

-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือ็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

-การได้ทำด้วยตนเอง

-เชื่อมั่นในตนเอง

-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง

-ไม่ช่วย้หลือเด็กเกินความจำเป็น(ใจแข็ง)

ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกิดไป

-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ

-"หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้"(ห้ามพูด)

จะช่วยเมื่อไหร่

-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร ,หงุดหงิด,เบื่อ,ไม่ค่อยสบาย

-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว

-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่ง

ที่เด็กต้องการ

-มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
   
ตัวอย่างทักษะการช่วยเหลือตนเอง(อายุ 2-6ปี)






ลำดับขั้นการช่วยเหลือตนเอง

-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ

-เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า

  เด็กเข้าห้องส้วมเองได้ไหม



การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ


  กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้

อาจารย์แจกอุปกรณ์ให้นักศึกษาทุกคน ได้แก่ กระดาษ สีเทียน  จาก

นั้นก็อธิบายให้นักศึกษาฟังว่า ให้ใช้สีเทียนที่ตนเองชอบระบายเป็นวง

แรก จากนั้นก็เปลี่ยนสีระบายเป็นวงกลมเหมือนเดิมไปเรื่อยๆ เสร็จ

แล้วใช้กรรไกรตัดตามรูปที่เราระบาย ตามภาพค่ะ

1.อาจารย์อธิบายวิธีการทำให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียด

2.ตั้งใจทำมากค่ะ แต่เสร็จช้ากว่าเพื่อน


3.เสร็จแล้วค่ะ วงล้อสีจิตใจ
4.อาจารย์ให้นักศึกษานำภาพตนเองมาติดตามอิสระ

  เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์เน้นให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนอย่างแท้จริง โดยการยกตัวอย่างที่ชัดเจน ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น และเน้นให้เด็กได้เรียนรู้นอกตำราเรียนด้วย เช่น การทำกิจกรรมวงล้อสีจิตใจ  การทายลักษณะนิสัยจากภาพ  และอาจารย์สร้างบรรยายกาศในห้องเรียนให้อบอุ่น สบายใจ เป็นกันเอง ทำให้การเรียนแต่ละครั้งของนักศึกษามีความสุขมากค่ะ

  การนำไปประยุกต์ใช้

เมื่อเราทราบวิธีการการส่งเสริมทักษะทางด้านการช่วยเหลือตนเองของเด็กแล้ว เราก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้หรือปรับใช้ให้เหมาะสมกับวัยที่เราได้สอน ซึ่งครูควรมีความใจเย็น(เวลาเด็กถามบ่อยๆ) ใจแข็ง(ไม่ช่วยเด็กเกินความจำเป็น) เพราะเด็กเขาอยากทำอะไรด้วยตนเอง เราเป็นเพียงผู้แนะนำหรือให้กำลังใจเด้กพอค่ะ
                                     การประเมิน(Evaluate)


การประเมินตนเอง

วันนี้หนูเข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  มีความกระตือรือร้นที่จะ

เรียน เข้าใจเนื้อหาสิ่งที่อาจารย์สอน  บางครั้งอาจไม่เข้าใจในเนื้อหา

บ้าง แต่ก็พยายามกลับมาทบทวนบ้าง เช่น การร้องเพลง  และวันนี้

ตื่นเต้นมากค่ะ  เพราะว่าอาจารย์แจกสีกับนักศึกษาทุกคนเป็นค่าวัสดุ

ฝึก สีอันนี้หนูกำลังอยากได้อยู่พอดีค่ะ เพราะสีอันเดิมมันใกล้หมด

แล้วค่ะ ซื้อตั้งแต่ปี 2 ค่ะ และดิฉันก็สนทนาโต้ตอบกับเพื่อนและ

อาจารย์เวลาอาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น 

ถึงแม้จะตอบผิดบ้างถูกบ้างค่ะและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับ

เพื่อนๆด้วยความตั้งใจและสนใจค่ะ ทำให้หนูเรียนอย่างมีความสุขทุก

ครั้งเลยค่ะ

การประเมินเพื่อน

วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ เข้าเรียนตรงเวลา  มีการจดบันทึกตามเนื้อหาที่อาจารย์เพิ่มเติมให้ และดูเหมือนเพื่อนๆมีความสุขทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์ เพราะเพื่อนตั้งใจทำงานหรือกิจกรรมที่อาจารย์จัดทำให้ เพื่อนก็ไม่เคยบ่นเลยค่ะ เรียนในบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นกันเอง และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ

การประเมินอาจารย์

วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งการเรียบร้อยเหมาะสม และให้เกียรตินักศึกษาทุกครั้งที่สอน  เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลียนความคิดเห็นกับเพื่อน อาจารย์เน้นนักศึกษาเป็นศุนย์  เข้าใจนักศึกษาแต่ละคนว่าเป็นแบบไหน และต้องสอนในลักษณะแบบไหนนักศึกษาถึงจะเข้าใจ  ทำให้การเรียนการสอนของอาจารย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น


การศึกษาเพิ่มเติม

-การฝึกร้องเพลง
-สอบย่อย
-การไลค์เพลง

หมายเหตุ
-ใกล้สิ้นเทอมอาจารย์ให้เลือกเพลงมาคนละ 1 เพลง พร้อมท่าทางประกอบ


วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน


Inclusive Education Experiences Management for Early 

Childhood


Teacher Justrin Jamtin


Go to Class 09:00


Out to Class 12:20




Activity

วันนี้อาจารย์นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการนำเรื่องราวดีๆ และประสบการณ์

ต่างๆในเรื่อง การบรรจุราชการ ซึ่งหนูสนใจอย่างมากเลยค่ะ เพราะพี่

สาวหนูกำลังมองหาที่จะลงสอบ  และวันนี้อาจารย์ก็นัดเรียนรวมกัน

ทั้ง 2 กลุ่ม เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ จากนั้นอจารย์ก็มีเทคนิคใน

การนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการใช้ภาพเพื่อทายลักษณะนิสัยของตนเอง

 ซึ่งเป็นเชิงจิตวิทยา ตามภาพค่ะ

วันนี้อาจารย์พาเราไปเที่ยวแถบแอฟฟริกา
เรานั่งสำรวจอยู่บนรถ

ภาพที่เราเห็น

























บรรยายเหตุการณ์


โดยอาจารย์ใช้คำถามกระตุ้น คือ วันนี้ครูจะพานักศึกษาไปเที่ยวแถบ

แอฟริกา ซึ่งสัตว์ไม่ได้อยู่ในสวนสัตว์แต่สัตว์อยู่ตามธรรมชาติของเขา

  ซึ่งเรานั่งรถมากัน แต่เมื่อถึงแล้วเรานั่งอยู่บนรถไม่ได้ลงมา  ทันใด

นั้นเองพวกเราก็เหลือบไปเห็นสิงโตหลายตัวที่กำลังลุมกินม้าลายอยู่ 

 จากภาพที่สิงโตกำลังกินม้าลายอยู่นั้นนักศึกษาเห็นแล้วรู้สึกอย่างไร

คำตอบของหนูคือ ถามว่าสงสารไหมสงสารค่ะ แต่มันเป็นสิ่งที่

ธรรมชาติสร้างขึ้น และเป็นห่วงโซ่อาหาร มันเป็นธรรมดาที่ม้าลาย

ต้องถูกล่า แต่ม้าลายก็เป็นนักล่าสำหรับสัตว์ที่อ่อนแอกว่า ซึ่งจะเป็น

วัฏจักรอย่างนี้เรื่อยๆ 

Photobucket - Video and Image Hosting

Knowledge

การส่งเสริมทักษะทางภาษา

ซึ่งบรรยากาศห้องเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา เช่น ห้องต้องมีตัว

หนังสือเยอะ มีการส่งเสริมการเล่านิทาน   การร้องเพลง  การท่องคำ

คล้องจอง  เป็นต้น


การวัดความสามารถทางภาษา

-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม

-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม เช่น พยักหน้า  ก้มหน้า

-ถามหาสิ่งต่างๆไหม

-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม เช่น วันนี้หนูมาโรงเรียนกับคุณ

พ่อ

-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม  


การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด

-การพูดตกหล่น  เช่น น้องจะพูดว่า หิวข้าว แต่จะพูดว่า ข้าว

-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง

-ติดอ่าง


การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด

-ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ  "ตามสบาย  "คิดก่อนพูด"

-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด

-อย่างเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก

-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น

-เด้กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน


ทักษะพื้นฐานทางภาษา

-ทักษะการรับรู้เรื่องภาษา

-การแสดงออกทางภาษา

-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

Photobucket - Video and Image Hosting
ตัวอย่าง พฤติกรรมการแสดงออกทางภาษา





ตัวอย่าง  พฤติกรรมการแสดงออกของเด็ก






ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา

-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด

-ให้เวลาเด็กได้พูด

-คอยให้เด็กตอบ(ชี้แนะหากจำเป็น)

-เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว(ครูไม่พูดมากเกินไป)

-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว

-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน

-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง(ครูไม่คาดการณ์ล่วง

หน้า)

-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด

-.ใช้คำถามปลายเปิด

-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น

-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก


การสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching)



ภาพที่ 1 

เมื่อเราเห็นว่าน้องกำลังทำอะไรหรือกำลังต้องการความช่วยเหลือ ให้

เราเข้าไปถามเด็กว่า "หนูทำอะไรรอยู่คะ  ถ้าเด็กไม่ตอบ ให้ถาม "หนู

กำลังใส่ผ้ากันเปื้อนหรอคะ " ถ้าเด็กไม่ตอบให้ครูถามอีกว่า "เดี๋ยวครู

ช่วยใส่ผ้ากันเปื้อนให้นะคะ" ครูให้เด็กพูดคำว่า "ผ้ากันเปื้อน" ตามครู 

ถ้าเด็กยังไมีมีการตอบอันนี้เป็นวิธีที่สุดท้ายจริงๆ คือ ใส่ให้เด็กเลย 

แต่ส่วนใหญ่เด็กก็มาไม่ถึงขั้นนี้

                      ภาพที่ 2 

เมื่อเราเห็นว่าน้องกำลังทำอะไรหรือกำลังต้องการความช่วยเหลือ ให้

เราเข้าไปถามเด็กว่า "หนูทำอะไรรอยู่คะ  ถ้าเด็กไม่ตอบ ให้ถาม "หนู

กำลังติดกระดุมอยู่หรอคะ " ถ้าเด็กไม่ตอบให้ครูถามอีกว่า "เดี๋ยวครู

ติดกระดุมช่วยนะคะ" ครูให้เด็กพูดคำว่า "ติดกระดุม" ตามครู ถ้า

เด็กยังไมีมีการตอบอันนี้เป็นวิธีที่สุดท้ายจริงๆ คือ ติดให้เด็กเลย แต่

ส่วนใหญ่เด็กก็มาไม่ถึงขั้นนี้


วีดีโอที่น่าสนใจ



เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางการช่วยเหลือตนเองของเด็กพิเศษ

เรียนร่วมในชั้นเรียน ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นจะเน้นเรื่องการการกล้ามเนื้อ

มัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้

เด็กพิเศษเหล่านี้สามารถช่วยเหลือตนเองได้



ต่อจากนั้นอาจารย์ก็ให้จับคู่ทำกิจกรรม ศิลปะบำบัด



อุปกรณ์



ภาพวาดของเรา
กำลังระบายสีอย่างตั้งใจ


เสร็จแล้วผลงานของเราทุกคน

 จากนั้นอาจารย์ก็สรุปผลงานของนักศึกษาโดยการทายนิสัยจากภาพ

วาดของแต่ละคู่ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งมีภาพที่สวยงามแต่แตกต่างกัน

ออกไป กิจกรรมที่อาจารย์จัดให้นักศึกษาล้วนมีประโยชน์อย่างมาก

 คือ เป็นการฝึกสมาธิของเด็ก เด็กได้ฝึกคิดและมีการวงาแผนการ

ทำงาน เด็กมีจินตนาการที่สร้างสรรค์แปลกใหม่  มีความกล้าคิดกล้า

แสดงออก โดยถ่ายทอดจากผลงานของตนเอง


       เมื่อเสร็จกิจกรรมนี้แล้วอาจารย์ก็ทำการทดสอบหลังเรียน 

ว่าที่เรียนไปได้ความรู้อะไรบ้าง



ซึ่งได้รับคำตอบที่หลากหลายจากกลุ่มเพื่อนๆ  ดังนี้

-ห้องเรียนต้องมีตัวหนังสือที่เยอะ

-ครูไม่ควรสนใจคำพูดที่พูดไม่ชัดของเด็ก

-ครูไม่ควรขัดจังหวะขณะเด็กพูด

-ครูไม่ควรเปรียบเทียบการพูดของเด็ก

-ครูควรใช้คำถามปลายเปิด

-ครูร่วมกิจกรรมกับเด็ก

ครูควรกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง



เทคนิคการสอนของอาจารย์


อาจารย์นำเข้าสู่บทเรียนด้วยมีกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ โดย

การศึกษาค้นคว้านอกตำราเรียน  เพื่อให้นักศึกษามีความคิดที่กว้าง

ไกล มาให้นักศึกษาได้ลองฝึกคิด  มีการสอนอย่างสนุกสนานทำให้มี

ความสุขมากค่ะที่ได้เรียนกับอาจารย์ และอาจารย์จัดรูปแบบ

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเปิดโอกาสให้นักศึกษา

ได้พูดและแสดงความคิดเห็นต่างๆ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วย

ตนเองและสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์


การนำไปประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้ในเรื่องของ การสอบบรรจุราชการครู ไปเล่าถ่ายทอด

ให้พี่ๆหรือญาติเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกหรือตัดสินใจกับเรื่องการ

สอบได้ค่ะ ส่วนเนื้อหาก็ทำให้หนูทราบในสิ่งที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่า

ควรจะส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กได้อย่างไรบ้าง ซึ่งการส่งเสริม

ทักษะทางภาษาของเด็ก เป็นเรื่องที่สำคัญคนเป็นครูไม่ควรมองข้าม 

ซึ่งดิฉันจะจัดการเรียนการสอนโดย การเล่านิทาน ร้องเพลง ท่องคำ

คล้องจอง เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะทางภาษาให้กับเด็ก ซึ่งครูต้อง

แม่นพัฒนาการของเด็กว่าเด็กวัยนี้มีพัฒนาการเป็นอย่างไรบ้าง จึงจะ

จัดกิจกรรมกับเด็กให้อย่างเหมาะสมได้

                                            การประเมิน(Evaluate)


การประเมินตนเอง

วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เก็บผมเรียบร้อยดีค่ะ วันนี้

เรียน 2 กลุ่ม รวมกันตอนแรกไม่มีที่นั่งหนูเลยได้นั่งแถว 2 แต่เพื่อน

คุยกันเลยเรียนไม่ค่อยรู้เรีอง หนูเลยขึ้นมานั่งข้างหน้าที่ใกล้กับอีก

กลุ่มเรียนนึง จากนั้นก็ตั้งใจฟังเรื่อง สอบบรรจุ ที่รุ่นพี่มาเล่าให้

อาจารย์ฟังจากนั้นอาจารย์ก็นำมาถ่ายทอดให้กลับพวกหนูได้เตรียม

ตัว ทำให้หนูคิดตารางการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมความพร้อมในการ

สอบบรรจุ เพราะถ้าจะไปอ่าน 3 เดือนสุดท้ายเวลาไม่พอ เพราะรุ่นพี่

เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ปี 4 ค่ะ ทำให้รุ่นพี่สอบบรรจุได้อันดับที่ 2 เรื่อง

บรรจุราชการหนูพยายามจดบันทึกอย่างละเอียดและชัดเจนค่ะ เพราะ

พี่หนูกำลังมองหาที่ลงสอบแต่ไม่รู้จะลงที่ไหน และเลือกอย่างไรบ้าง 

ทำให้พี่หนูเครียดมาก ตอนเย็นหนูเลยโทรไปเล่าให้พี่หนูฟัง ทำให้พี่

หนูตัดสินใจได้ง่ายขึ้นค่ะ และหนูก็สนใจเนื้อหาที่เรียน เพราะเรียนกับ

อาจารย์รู้สึกมีความสุขบรรยากาศผ่อนคลายไม่ตึงเครียดทำให้เกิด

การเรียนรู้ได้ดี และตั้งใจทำกิจกรรมกับเพื่อนและอาจารย์ ร่วมสนทนา

โต้ตอบกับเพื่อนและครู อาจมีตอบผิดบ้างถูกบ้างค่ะ อันไหนที่เรา

ตอบไม่ถูกก็จะพยายามทำความเข้าใจ แต่ถ้าไม่เข้าใจจริงๆจะถาม

อาจารย์ในชั่งโมงเลยค่ะ

การประเมินเพื่อน

วันนี้เรียนรวมกัน 2 กลุ่มเรียนค่ะ ทำให้การแต่งกายมีความแตกต่างกัน

บ้าง ซึ่งเพื่อนส่วนใหญ่ก็ตั้งใจเรียนกันดี มีการแสดงความคิดเห็น

ต่างๆ และร่วมตอบคำถามกับเพื่อนคนอื่นๆและอาจารย์  แต่อาจมี

เพื่อนบางกลุ่มที่คุยกันบาง แต่ทุกคนก็ตั้งใจเรียนจดบันทึกตามที่

อาจารย์สอน อละให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ศิลปะ

บำบัด ซึ่งเพื่อนทุกคนก็ตั้งใจทำผลงานของตนเองให้ดีที่สุดค่ะ  และมี

การแลกเปลี่ยนความคิดในการตอบคำถามของเพื่อนๆต่างกลุ่มเรียน

ค่ะ ซึ่งเพื่อนก็ตอบคำถามได้ดีทุกคนเลยค่ะ ทำให้เราได้เรียนรู้เพื่อน

ต่างกลุ่มเรียนมากขึ้นค่ะ

การประเมินอาจารย์

วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เ็นแบบอย่างที่ดีให้

กับนักศึกษา มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลง การ

ทำกิจกรรมศิลปะบำบัด การทายนิสัยจากคำตอบที่ได้จากภาพ  และ

อาจารย์มีการยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงให้นักศึกษาได้เข้าใจ

อย่างแท้จริง เช่น มีเด็กคนหนึ่ีง ไม่เคยพูดเลย ไม่เคยได้ยินเสียงของ

เด็กคนนี้เลย และแต่ละเช้าคุณครูท่านนี้ก็จะทักทายสวัสดีเด็กเป็น

ประจำ  แต่เด็กคนนี้ไม่เคยพูดอะไรเลย แต่มาวันนี้คุณครูเดินผ่านหน้า

ห้องตามปกติ ก็เห็นน้องขึ้นไปยืนบนโต๊ะครู แล้วตะโกนเป็นชื่อของ

ตนเองอย่างเสียงดัง ซึ่งตอนแรกคุณครูท่านนั้นก็ตกใจ แต่ก็แอบดีใจ

ว่าสิ่งที่ครูทำทุกวันนั้นเกิดประโยชน์กับตัวเด็ก ซึ่งอาจารย์จะถ่ายทอด

การยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของอาจารย์เองเลย ทำให้นักศึกษา

มองเห็นภาพและเข้าใจง่ายขึ้น


การศึกษาเพิ่มเติม

-ฝึกร้องเพลง

-ฝึกเขียนตัวกลมหัวเหลี่ยม

-สัปดาห์หน้าอาจารย์จะไลค์เพลงเด็กปฐมวัยมาให้นักศึกษา

หมายเหตุ

-วันนี้เรียนรวมกันทั้ง 2 กลุ่มเรียน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ 

สัปดาห์หน้าเรียนเวลาปกติ