บันทึกการเรียน
Inclusive Education Experiences Management for Early
Childhood
Childhood
Teacher Justrin Jamtin
Go to Class 14:10
Out to Class 17:30
Activity
วันนี้อาจารย์เริ่มต้นชั่วโมงด้วยการพูดคุยเกี่ยวกับ เรื่องบายเนียร์ ซึ่ง
มีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้น อาจารย์จึงให้กลุ่มเรียนของเราช่วย
ประสานงานอีกครั้งหนึ่ง เพราะเราปี 3 ทุกคนต้องช่วยกันทุกคน
ประสานงานอีกครั้งหนึ่ง เพราะเราปี 3 ทุกคนต้องช่วยกันทุกคน
จากนั้นอาจารย์ก็นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการมีกิจกรรมที่กระตุ้น
ให้นักศึกษารู้สึกอยากเรียนและสนใจเรียนมากขึ้น และดิฉัน
ได้เก็บภาพบรรยากาศไว้ดังนี้
โดยอาจารย์ใช้คำถาม ดังนี้
1.ถ้านักศึกษาจะขึ้นรถไฟเหาะ นักศึกษาคิดว่าจะรอคิวนานเท่า
ไหร่(ตอบเป็นเวลาหรือตัวเลข)
หนูตอบ 20 นาที
2.เมื่อนักศึกษาขึ้นไปนั่งบนรถไฟเหาะ นักศึกษาจะรู้สึกอย่างไร
หนูตอบ หาที่จับให้แน่น
3.เมื่อรถไฟเหาะกำลังจะลงน้ำ นักศึกษาจะร้องเป็นเสียงแบบ
ไหน
หนูตอบ โอ้ยสู
4.ในขณะที่นักศึกษากำลังนั่งม้าโย้ก แล้วม้าโย้กเกิดเสียขึ้นมา
ทันที นักศึกษาจะคิดในใจว่าอะไร
หนูตอบ อ้าวเป็นหยังวะ
5.นักศึกษาจะสร้างรถไฟเหาะที่ดูหวาดเสียวมากที่สุดเป็นใน
ความคิดตัวเองแบบไหน
รถไฟเหาะของหนูเป็นแบบนี้ค่ะ |
Knowledge
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมี
พัฒนาการต่างๆ อย่างมีความสุข
-การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
-เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเรียนของสื่อ
-ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่าง
ที่น่าสำมรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
-เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
-ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด้กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
-จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
-ครูจดบันทึก
-ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
-วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่างๆ
-คำนึงถึงเด็กทุกคน
-ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
-เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ
-อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
-เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
-ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
-ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
-ทำโดย ''การพูดนำของครู"
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
-ไม่ง่ายสำหรับเด็กกพิเศษ
-การให้โอกาส
-เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
-ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
จากนั้นอาจารย์ก็แจกชีทเพลงให้
มีทั้งหมด 6 เพลงค่ะ ดังนี้ |
เรียบเรียง:อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
1.เพลง ดวงอาทิตย์
2.เพลง ดวงจันทร์
3.เพลง ดอกมะลิ + 4. เพลง กุหลาบ
5. เพลง นกเขาขัน
6.เพลง รำวงดอกมะลิ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
Activity
กิจกรรมสุดท้ายสำหรับวันนี้คือ ศิลปะบำบัด ซึ่งอาจารย์ให้จับคู่ แล้ว
ออกมารับอุปกรณ์ เช่น กระดาษ สีเทียน จากในให้คู่ของตัวเองตกลง
กันมาใครจะเป็นเส้นใครจะเป็นจุด ซึ่งหนูเป็น "เส้น"ค่ะ จากนั้น
อาจารย์ก็กำหนดข้อตกลงร่วมกันคือ
1.ให้ลากเส้นตามจังหวะเพลง
2.เมื่อเพลงหยุดให้นักศึกษาวางอุปกรณ์ลง
3.ห้ามคุยกัน เพราะกิจกรรมที่จัดขึ้นจะไม่มีประโยชน์
เพิ่มเติม
ศิลปะบำบัด (Art Therapy) คือ การใช้กิจกรรมทางศิลปะเพื่อ
ค้นหาข้อบกพร่อง ความผิดปกติบางประการของกระบวนการ
ทางจิตใจ และใช้กิจกรรมทางศิลปะที่เหมาะสม ช่วยในการ
บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพให้ดีขึ้นเพื่อ ลดปัญหาทาง
อารมณ์ พฤติกรรม และเสริมสร้างศักยภาพในด้านต่างๆ
มีการใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ขีด
เขียน วาด ระบาย ตัดปะ ปั้น ถักทอ เพื่อเป็นทางเลือกที่จะ
ระบายความรู้สึกนึกคิด จนสามารถเข้าใจ และจัดการกับความ
รู้สึกได้ สามารถสื่อสารกับผู้คนรอบข้างได้
จากนั้นอาจารย์ก็ให้เราสังเกตว่าภาพที่เราลากเป็นเส้นนั้นเป็นภาพ
อะไรบ้าง ซึ่งคู่ของดิฉันก็มีหลายภาพเลยค่ะ เช่น ม้า แมว ปู ค่ะแล้ว
อาจารย์ก็ให้แต่และคู่นำผลงานมาวางไว้กลางห้องเพื่อที่จะได้พูดคุย
เกี่ยวกับภาพวาดต่างๆ แล้วอาจารย์ก็จะถามว่า "ภาพที่เราวาด " คือ
อะไร ซึ่งผลงานคู่ของดิฉันอาจารย์บอกว่าเหมือนเด็กอนุบาลมาก
ที่สุดค่ะ ครั้งหน้าดิฉันจะพยายามปรับปรุง และไปฝึกฝนเพิ่มเติมให้ดี
ขึ้นกว่าเดิมค่ะ
ภาพบรรยากาศที่น่าสนุกสนานค่ะ
เทคนิคการสอนของอาจารย์
วันนี้อาจารย์ใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้
นักศึกษาสนใจ ในเรื่องที่เรียน และทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ
และอาจารย์มีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อที่จะนำมาสอนนักศึกษา
เช่น การทายลักษณะนิสัยจากภาพ ทำให้นักศึกษารู้จักตัวตนที่แท้
จริงของตัวเอง และทำให้นักศึกษาในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน ทั้งในเรื่อง
ของกิจกรรมที่จัดในท้ายชั่วโมง คือ ศิลปะบำบัด
(Art Therapy) เป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษาสามารถนำไปต่อยอดและ
ปรับใช้หรือประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้ดูมีสีสันและน่าสนใจ
มากขึ้น
การนำไปประยุกต์ใช้
ทำให้ทราบว่า การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษมีความสำคัญ
อย่างมาก ซึ่งเราเป็นครูต้องนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นทักษะทางสังคม เพราะว่าเด็กพิเศษที่ขาดทักษะทาง
สังคม ไม่ได้เกิดจากครอบครัวเลย แต่เกิดจากตัวเด็กเอง ซึ่งครู
ต้องหากิจกรรมต่างๆมาปรับใช้ในการส่งเสริมเด็กพิเศษเหล่านี้ เช่น
การเล่น ครูควรจัดกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้เล่นหรือทำงานเป็นกลุ่ม
มากกว่า การเล่นคนเดียว และเวลาแจกของเล่นให้เด็กควรแจกใน
ปริมาณ ครึ่งหนึ่งของเด็ก เพราะเด็กจะมีการพูดคุยกันและทำให้เด็ก
รู้จักรอคอยของเล่น ซึ่งความรู้ที่ได้รับในวันนี้หนูก็จะนำไปประยุกต์ให้
ดีขึ้นและเหมาะสมกับวัยของเด็กค่ะ
การประเมินตนเอง
อาจารย์สอน อันไหนไม่เข้าใจก็จะถามอาจารย์ค่ะ แต่ก็ไม่ค่อยงงกับ
เนื้อหามากเท่าไหร่ค่ะ เพราะอาจารย์มีการยกตัวอย่างเป็นสถานการณ์
ที่ชัดเจนมากวันนี้รู้สึกเครียดกับเรื่องบายเนียร์ค่ะ แต่ก็ได้คุยงานกับ
เพื่อนอีกกลุ่มนึงคร่าวๆแล้ว ตอนนี้เหลือแต่นัดเวลาที่ว่างตรงกัน แต่ก็
พยายามสนใจในเรื่องที่อาจารย์กำลังจะสอน และจดบันทึกตามที่
อาจารย์เพิ่มเติมให้ในสิ่งที่นอกเหนือจากตำราเรียน ซึ่งเป็นเทคนิคดีๆ
ที่อาจารย์แนะนำให้เวลาเราต้องเจอกับสถานการณ์จริงๆ ถ้าประเมิน
ให้ตัวเองวันนี้ก็ประมาณ 80% ค่ะ
การประเมินเพื่อน
กันเท่าไหร่ค่ะ และเพื่อนก็สนใจในสิ่งที่อาจารย์สอน และเพื่อนเกือบ
ทั้งหมดจดบันทึนตามที่อาจารย์สอนและเพิ่มเติมให้ และให้ความร่วม
มือดีมากในการทำกิจกรรมที่อาจารย์จัดขึ้นในแต่ละครั้ง มีการสนทนา
ตอบโต้กับอาจารย์บ้างค่ะ มีการแลกเปลี่ยนคำคิดกันในการทำ
กิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนๆ
การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจหลายอย่าง
มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจนมากขึ้น ทำให้เปลี่ยนเนื้อหาที่ยากกลายมา
เป็นเนื้อหาที่ง่ายได้ เพราะในเทอมที่แล้วอาจารย์บอกว่าวิชานี้เป็น
วิชาที่ยากพอสมควร แต่พอหนูเรียนไปสักพักก็คิดว่าเราน่าจะเรียนได้
อาจารย์มีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ใหม่อยู่เสมอ เพื่อให้นักศึกษาได้
เรียรู้อะไรใหม่ๆนอกเหนือจากตำราเรียน
สิ่งที่ศึกษาเพิ่มเติม
กิจกรรมศิลปะบำบัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น